Beginner โยคะ อาสนะสำหรับการ ยืดเหยียด

0

Beginnerโยคะอาสนะสำหรับการยืดเหยียดร่างกาย

Beginner โยคะ ยืดเหยียด

Yoga Asana & exercise

ผู้ที่เริ่มต้นฝึก โยคะ โดยส่วนใหญ่ มักจะพบกับปัญหา กับร่างกายที่ตึง ยืดเหยียด ไม่ได้เต็มที่ ข้อต่างๆในร่างกาย ยึดมากมาย เส้นเอ็นหรือ กล้ามเนื้อต่างๆ ยึดตึงแน่นไปหมด ซึ่งถ้าผู้ที่เริ่มฝึก มีปัญหาแบบนี้ จะทำให้การเข้าถึง อาสนะ ในแต่ละอาสนะนั้น ค่อนข้างยาก และจะรู้สึกทรมาน ด้วยสาเหตุ ที่ร่างกายนั้น ตึงมากนั่นเอง

ดังนั้นจึง จะเป็นประโยชน์ อย่างมาก สำหรับ มือใหม่ที่เริ่มฝึก โยคะ ที่เริ่มต้น จากการฝึกและ บริหารร่างกาย เพื่อให้อวัยวะ ร่างกาย ในส่วน ที่ไม่ค่อย ได้รับการยืด ได้มีการยืดเหยียด อย่างเต็มที่ รวมถึง การยืดขยาย ของกล้ามเนื้อบางส่วน ที่ไม่ได้ถูกใช้ ให้ได้รับ การยืดขยาย ไม่ยึดติดมาก จนเกินไป และยังช่วยรักษา อาการ Office syndrome ได้ด้วย

การฝึกโยคะ ที่จะทำให้เกิด การพัฒนา และประสบกับ ความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับ การเตรียม ความพร้อม ร่างกายของผู้ฝึก และความเข้าใจ ร่างกายของผู้ฝึก เป็นหลัก ถ้าผู้ฝึกรู้จักร่างกาย ของตัวเองมากพอ จะยิ่งทำให้ การฝึกโยคะ มีการพัฒนา ที่เร็วขึ้น และ ป้องกันการบาดเจ็บ จากการฝึก ได้ดีอีกด้วย

อาสนะ โยคะ ที่นำมา เป็นตัวอย่างด้านล่าง เป็นท่าบริหาร ที่ช่วยในเรื่อง ของการ ยืดเหยียด อวัยวะร่างกาย ในส่วนต่างๆ ข้อสังเกตุหลักๆ ในการฝึก ให้ผู้ฝึกเน้น และสังเกตุ ในเรื่องของ จุดสัมผัสว่า ในท่าบริหาร ในแต่ละท่านั้น ได้เน้นบริหาร ในจุดไหน ของร่างกายจุดไหนที่ จะถูกยืดออก ให้พยายามรับรู้ ถึงความรู้สึกของ ของร่างกายในส่วนนั้นๆ

ทุกๆครั้งใน การบริหาร ให้ใช้ลมหายใจ เข้าออก เป็นจังหวะในการยืด ลมหายใจเข้า ถือเป็นการเตรียม ร่างกายหรืออวัยวะ ในส่วนที่ต้องการจะยืด และให้ยืดออก พร้อมกับลมหายใจออกช้าๆ ในช่วงแรกๆ อาจจะทรมาน และรู้สึกถึง ความเจ็บปวดบ้าง เพราะกล้ามเนื้อ ไม่ชิน แต่เมื่อฝึกเป็นประจำจะทำให้กล้ามเนื้อ และอวัยวะในส่วนนั้นๆ  แข็งแรงขึ้น

Downward Facing Dog

Downward Dog

อธิบายเพิ่มเติม

 

Seated Forward Bend

Seated Forward Bend

อธิบายเพิ่มเติม

 

Triangle

Triangle Pose

อธิบายเพิ่มเติม

Pigeon Pose

Pigeon Pose

อธิบายเพิ่มเติม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

High Lunge Pose

0

Beginner โยคะอาสนะ ในการสร้าง  ขา ที่แข็งแรง

High Lunge

High Lunge or Crescent pose (Utthita Ashwa Ashwa Sanchalanasana)

ท่า High Lunge เป็นท่าที่ท้าทาย ต่อกำลังขาเป็นอย่างมาก เพราะการที่ จะทรงตัวใน ท่านี้ ให้มั่นคงนั้น ขา จะเป็นอวัยวะ หลักที่ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในท่านี้ ขาทั้งสอง จะต้องแยก ออกจากัน ไปคนละจุด การถ่ายน้ำหนัก และการทรงตัว จึงค่อน ข้างลำบาก เพราะขา จะต้องใช้ แรงขาตัวเอง เพื่อส่งความ รู้สึกกลับมาหา กันตรงกลาง เพื่อหาจุด ที่ทำให้เกิดการ ทรงตัวที่ดี

ในหลายครั้ง ในการฝึกท่านี้ ครูผู้สอน ในคลาส จะเน้น ให้ผู้ฝึก ฝึกโดยการ ส่งความรู้สึก ถึงการบีบขาใน เข้าหากัน เพื่อช่วย ในการสมดุล ดังนั้น เวลาฝึก ทุกครั้ง ท่าทำต่อ เนื่องนานๆ หรือบางครั้ง ฝึกในท่านี้แหล่ะ แต่เพิ่ม การฝึกแบบอื่น เข้าไปเช่น การบิดตัว หรือการ ยืดที่อยู่ด้านหน้าให้ ขาตรง ขึ้นลงสลับกัน เวลาอยู่ในท่า ขาทั้งสองข้าง จะใช้แรงเยอะมาก บางทีหลังจากจบคลาส เดินขาลาก กลับบ้าน เลยก็มี

Downward Facing Dog 11

 

Step 1.
  • เริ่มต้นจากท่า Downward Facing Dog
  • ฝ่ามือ ทั้งสองดันพื้น จิกปลาย นิ้วมือเล็กน้อย แขนตึง
  • เท้าทั้งสองข้าง ติดพื้น กดส้นเท้าลง ให้ใกล้พื้นมากที่สุด
  • ส่งก้นขึ้น สูงหาเพดาน
  • หลังตรง ไม่แอ่นหลัง สูบสะดือสูง
  • ขาเหยียดตรง แต่ถ้าหลังเริ่มโค้ง ให้งอขาเล็กน้อยได้ เน้นให้หลังตรง
  • ศรีษะอยู่ ในระดับเดียวกัน กับใบหู

High Lunge Pose 2

Step 2.
  • ค้างท่าใน Downward Facing Dog
  • ยกเท้าขวา เหยียดสูง หาเพดาน ขาเหยียดตรง
  • โน้มตัวมา ด้านหน้า หัวไหล่ ข้อมือตรงกัน
  • ฝ่ามือทั้งสอง ดันพื้น ดันหน้าอก ขยายสบักหลัง
  • งอหัวเข่า ชิดหน้าอก เก็บปลายเท้ายกสูง หน้าผากชิดหัวเข่า โก่งหลัง สูบสะดือสูง

High Lunge Pose 3

Step 3.
  • ก้าวเท้าขวา ขึ้นมาวางเท้า ระหว่างฝ่ามือทั้งสองข้าง งอหัวเข่า ตั้งฉากกับพื้น
  • ตั้งส้นเท้าซ้าย จมุกเท้าติดพื้น ยกส้นขึ้นเป็นแนวตั้งฉาก กับพื้น เหยียดขาตึง เหยียดน่องให้ตึง

High Lunge Pose

Step 4.
  • เมื่อรู้สึกเริ่มมั่นคง ให้ยกลำตัวขึ้น จากเอว
  • ส่งมือทั้งสอง ขึ้นสูงแขนตรง หาเพดานห้อง
  • เก็บก้นกบ เก็บกระดูกซี่โครง แขม่วท้อง หัวไหล่ ทั้งสองผ่อนคลาย
  • ค้างอยู่ในท่า ประมาณ 4-5 ลมหายใจเข้าออก
  • หลังจากนั้น สลับกลับ ไปทำอีกข้าง

ข้อสังเกตุ

ในการฝึกท่านี้ ความกว้าง ของขา ทั้งสองข้างเวลาที่แยก ออกจากกัน ความกว้าง ต้องพอดีกับช่วงสะโพก สะโพกจะต้อง ขนาน ไม่บิดเบี้ยว น้ำหนักของลำตัว พยายาม ให้อยู่ตรง กลาง เพื่อให้สามารถ ทรงตัวอยู่ใน ท่านี้ได้ ขาทั้ง สองข้างต้องเกร็ง และกระชับ เพื่อให้ขาแข็งแรง

สำหรับผู้ที่เคยฝึกโยคะ

สำหรับผู้ที่เคยฝึก ท่านี้เป็นประจำ จนสามารถ อยู่ในท่านี้ ได้นานและมั่นคง แนะนำลองเพิ่ม การฝึกในลักษณะ การบิดตัว โดยที่ขาทั้งสอง ยังอยู่ในท่าเช่นเดิม พยายาม ให้ขาที่เป็น ฐานด้านล่างนั้น มั่นคงที่สุด ขยับให้น้อยที่สุด หรือ เพิ่มการยืดเหยียดขา ด้านหน้าที่ งอตั้งฉากอยู่ ยืดตรงและงอสลับกัน แบบนี้ ก็จะยิ่งเพิ่ม กำลังขาทั้งสองข้างได้มากขึ้นอีก ระดับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Goddess Squat Pose

0

Beginner โยคะอาสนะ สำหรับการยืดเหยียด

Goddess Squat Pose

Goddess Squat Pose (Utkata Konasana)

เป็นการฝึก โยะคะ ที่ใช้ใน การฝึกร่างกาย เพื่อเพิ่ม ความแข็งแรง ให้กับร่างกาย ท่อนล่างได้ดี อย่างมาก ทำให้ ร่างกายช่วงล่าง ได้รับการเผาผลาญ พลังงานที่ดี การฝึกท่านี้ ไม่ว่าจะเป็น ทั้งผู้ที่ เพิ่งเริ่มฝึก หรือผู้ที่ฝึกมานาน ท่านี้เมื่อเริ่มฝึก จะได้รับกับ ภาวะความทรมาน ที่มีความสุข ไปในเวลาเดียวกัน เมื่อออกจากท่า

ท่านี้ ช่วยทำให้ สะโพกเปิด พร้อมทั้ง ทำให้ มีบั้นท้าย หรือ ก้นที่กระชับ ทำให้น่อง ทั้งสองแข็งแรง ส่งผลให้ กล้ามเนื้อ ต้นขากระชับขึ้น และยังสามารถ ทำให้สำผัส ได้ถึงการ ยืดขยายของ กระดูกสันหลัง ช่วงล่าง และกระดูกเชิงกราน รวมถึง การยืดขยาย กระดูกหน้าอก ได้ดีเช่นกัน

ท่านี้ประโยชน์ ตามข้างต้นคือ มีผลต่อร่างกาย ท่อนล่าง เป็นอย่างมาก การฝึก ที่จะทำให้ อยู่ในท่าได้นาน ในช่วงแรกๆ ถ้าผู้ฝึก ยังมี กำลังของ ขา ที่ยังไม่แข็งแรง จะทำให้อยู่ ในท่านี้ ไม่ได้นาน เท่าไหร่นัก เนื่องจากการยืน ในลักษณะนี้ จะเป็น การยืนที่ขัด กับธรรมชาติ กล้ามเนื้อ บางส่วนที่อาจจะ ไม่ได้ใช้งาน จำเป็นจะต้อง ถูกยืดออก ก็จะทำให้ ไม่มีแรงมากนัก

ในช่วงแรกๆ ของการฝึก เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อไหร่ก็ตาม ที่รู้สึก ยืนอยู่ในท่า ไม่ไหว ก็ให้ออกจากท่า อย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยง อาการบาดเจ็บ จากการฝึก ที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ทุกเมื่อ ถ้าผู้ฝึก ฝืนที่จะฝึกโดยไม่คำนึง ถึงร่างกายของตัวเอง

 

Mountain Pose1

Step 1.
  • เริ่มต้นด้วยท่า Mountain Pose เท้าทั้งสองชิดกัน แขนทั้งสอง วางข้างแนบข้าง ลำตัว สบายๆ ผ่อนคลาย

Goddess Squat 1

Step 2.
  • หันมอง ไปด้านขวา แยกเท้าขวา ไปด้านขวา นิ้วเท้าทั้งสอง หันออก เฉียงออก 45 องศา ส้นเท้าทั้งสอง หันเข้า อยู่ด้านใน

Goddess Squat 2

Step 3.
  • หายใจออก ย่อหัวเข่าทั้งสอง ให้ตั้งฉาก  หัวเข่าจะต้อง ไม่เลยข้อเท้า กางหัวเข่าออก ไปด้านข้าง
  • ลดสะโพกลง ให้ขนานกับ ต้นขาทั้งสอง

Goddess Squat

Step 4.
  • หายใจออก ย่อหัวเข่าทั้งสอง ให้ตั้งฉาก  หัวเข่าจะต้อง ไม่เลยข้อเท้า กางหัวเข่าออก ไปด้านข้าง
  • ลดสะโพกลง ให้ขนานกับ ต้นขาทั้งสอง
  • ยกแขน ทั้งสองขึ้น เหนือศรีษะ จากนั้น งอข้อศอก ตั้งฉาก 90 องศา ฝ่ามือหันมา ด้านหน้า ปลายนิ้วชี้ ขึ้นเพดาน
  • รักษา กระดูกสันหลัง ให้ตั้งตรง เก็บก้นกบ
  • แขม่วหน้าท้อง สูบสะดือ เก็บซี่โครง สายตามอง ไปข้างหน้า
  • ออกจากท่า หายใจเข้า ยืดขาตรง มือทั้งสองจับที่ สะโพก ยกเท้าขวา กลับไปเจอเท้าซ้าย คู่กัน กลับไป สู่ท่าเริ่มต้น

Mountain Pose1

ข้อสังเกตุ

ผู้ที่ ไม่เคยฝึกท่านี้ หรือผู้ที่มีปัญหา กับสะโพกที่ ขยายได้ ไม่เต็มที่ หรือขยายได้ ไม่ดีเท่าไหร่ ฝึกเริ่มแรก อาจจะพบเจอ กับสะโพก ที่ติด ทำให้ไม่สามารถ กางสะโพก ได้ไม่เต็มที่ ให้ค่อยๆฝึก แบบเข้าใจ ร่างกาย ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ต้องรีบร้อน แต่ขอให้ ฝึกทุกวัน พยายามอยู่ ในท่าให้นาน เท่าที่สามารถทำได้ เป็นกิจจวัตร ได้จะยิ่งดี

เพื่อทำให้กล้ามเนื้อ สะโพกได้รับ การฝึกให้ได้ยืดและขยาย ให้ได้มากจากเดิม สำหรับผู้ ที่มีปัญหาเรื่อง หัวเข่า ก็ต้องระวัง เพราะในช่างการ ฝึกแรกๆ โดยส่วนมาก ก็จะเลือกลง น้ำหนัก ไปที่หัวเข่า ดังนั้นให้ระวัง เมื่อหัวเข่าบีบเข้าข้างใน ผู้ฝึกอาจจะใช้มือ เป็นตัวช่วยในการ ดันหัวเข่าทั้งสอง ให้แยกออกจากกัน เพื่อเป็นการช่วยให้ สะโพกได้ขยายอย่างเต็มที่

สำหรับผู้ที่เคยฝึกโยคะ

สำหรับผู้ที่ ฝึกท่านี้ เป็นประจำ จนไม่รู้สึก อะไรมากนัก ให้ลองฝึกท่านี้ โดยยืนแบบเขย่ง ส้นเท้าขึ้น ด้วยการยืนในท่า โดยใช้จมูกเท้า เป็นจุด รับน้ำหนัก อาจจะสลับ เย่งเท้าทีละข้าง ในช่วงแรกๆไปก่อน หลังจากนั้น ก็เขย่งเท้า ทั้งสองข้างพร้อมกัน จะเพิ่มการเกร็ง ในบริเวณน่อง และเพิ่มการเกร็ง กล้ามเนื้อ ต้นขาได้มากขึ้น จากเดิม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Downward Facing Dog

0

Beginner โยคะอาสนะ สำหรับการยืดเหยียด

Downward Facing Dog

Downward Facing Dog (Adho Mukha Svanasana) 

เป็นอาสนะโยคะ ที่ใช้ฝึกเพื่อการ ยืดเหยียดของร่างกาย ที่มีประโยชน์ เป็นอย่างมาก   ในคลาสโยคะ หลายๆคลาส ครูผู้สอนในคลาส มักจะใช้อาสนะนี้ เป็นอาสนะ ที่พักยืด และผ่อนคลาย ร่างกาย หลังจากที่เริ่ม ฝึกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้กล้ามเนื้อ ของร่างกายได้ Reset พลังงานกลับ คืนสู้ร่างกาย เพื่อจะได้เริ่มฝึก ต่อไป

ใช้เป็นท่าพัก เพื่อให้ร่างกาย ได้ปรับให้มีระดับการเต้น ของหัวใจ ให้สอดคล้อง กับลมหายใจ ดังนั้นท่านี้ จึงมักจะแนะนำ ให้ผู้ฝึก เมื่ออยู่ ในท่าจะต้อง มีความรู้สึกว่า ร่างกายได้ ผ่อนคลาย จริงๆ นั่นจึงถือ เป็นการฝึก ที่ได้ประโยชน์ อย่างแท้จริง

ประโยชน์ ของท่านี้ ยังมีมากมาย เนื่องจากลักษณะ ของศรีษะ จะมีระดับ ที่ต่ำกว่า หัวใจ จึงให้เกิด ภาวะเลือดลม หายเวียนลงศรีษะ ได้ดี จึงส่งผลให้สมองสงบ และผ่อนคลาย ช่วยบรรเทา อาการภาวะ โรคซึมเศร้า และโรคเครียดได้ดี  พร้อมทั้ง เสริมสร้าง ความแข็งแรง ของแขน และขา และ ยังช่วยยืด เส้นเอ็นร้อยหวาย ได้ดีอีกด้วย

All Four Position

Step 1.
  • เริ่มต้นด้วยท่า All four Position โดยการวางมือ และเข่าลงบนพื้น
  • ตั้งหัวเข่า และสะโพก ตรงกัน
  • วางฝ่ามือไปข้างหน้าเล็กน้อยจากไหล่ กางฝ่ามือชี้ แนบลงกับพื้น

Downward Facing Dog1

Step 2.
  • ลมหายใจออก ยกเข่าให้ห่างจากพื้น
  • ขาตึงมากให้ งอเข่าเล็กน้อย ยกส้นเท้าขึ้น
  • ยืดกระดุกเชิงกราน ด้านหลัง กดน้ำหนักเบาๆ ที่หัวเหน่า
  • ส่งกระดูกรองนั่ง ขึ้นไปที่เพดาน เป็นลักษณะสามเหลี่ยม
  • พยายามบีบ ขาด้านใน ให้เกร็งกระชับ

Downward Facing Dog

Step 3.
  • จากนั้น ด้วยลมหายใจออก ให้ดันต้นขาด้านบนส่งไปด้านหลัง
  • ยืดส้นเท้าลงให้ใกล้พื้น หรือติดพื้นให้ได้มากที่สุด
  • พยายามเหยียดหัวเข่าให้ตรง กระชับต้นขาด้านนอก หมุนต้นขาด้านใน เข้าหากันเล็กน้อย

Downward Facing Dog

Step 4.
  • เกร็งแขน ด้านนอกให้แน่น นิ้วทั้งสิบกางออก กดฝ่ามือลง พื้นให้แน่น
  • ดันกำลังส่ง จากนิ้วมือ ข้อมือ แขน ข้อซอก จนไปถึง ส่วนบนของหัวไหล่
  • ยึดหัวไหล่ ให้ห่างจากใบหู ยืดขยายหลังส่วนบน
  • ศรีษะอยู่ ระหว่างต้นแขน ตามองที่ช่องว่าระหว่าง ปลายเท้าทั้งสอง
  • พยายาม อย่าเกร็งคอ ปล่อยตกตามธรรมชาติ

ข้อสังเกตุ

สำหรับ ผู้ที่เพิ่งเคยฝึก มักจะประสบ ปัญหาการตึงบริเวณ ขาหลังทั้งสองข้าง ช่วงฝึกแรกๆ อาจจะยัง ไม่สามารถ เหยียดขา ทั้งสองข้าง ให้ตึงได้ ดังนั้นใน ให้ใช้การฝึกโดย งอหัวเข่า ทั้งสองข้างได้ก่อน เพื่อ ไม่ทำให้หลังนั้น มีลักษณะ โค้งงอ

เพราะโดย ส่วนมากผู้ที่ ฝึกใหม่ๆ จะพยายามที่จะเหยียดขาให้ตรง ซึ่งจะส่งผล ให้หลังนั้นโค้ง ไม่ถูกยืดออก ดังนั้น จึงแนะนำให้ งอหัวเข่าก่อน เพื่อให้ กระดูกสันหลัง นั้นได้ถูกยืดออก เป็นแนวตรงตั้งแต่ ศรีษะจนถึง กระดูกก้นกบที่ถูกส่งขึ้นสูงหาเพดาน

สำหรับผู้ที่เคยฝึกโยคะ

สำหรับ ผู้ที่เคยฝึก อาจจะเพิ่ม ความยาก ในการฝึกได้ โดย การยกเท้าสลับ กันส่งขึ้น ชี้ไปด้านหลัง เป็นแนว เดียวกันกับ ร่างกาย โดยต้องคุมสะโพก ให้ขนาน ในระดับเดียวกัน และพยายามกดส้นเท้า ให้แนบกับพื้น ค้างท่าไว้  ประมาณ 5 ลมหายใจ เข้าออก ใช้กำลังแขน ทั้งสองยันพื้น และใช้ขา ที่ติดกับพื้นนั้น ให้มั่นคง ที่สุด

บทความที่เกี่ยวข้อง

Triangle Pose

0

Beginnerโยคะอาสนะสำหรับการยืดเหยียด

Triangle Pose

Triangle Pose (Utthita Trikonasana)

อาสนะนี้ มีชื่อภาษาไทยว่า ท่าสามเหลี่ยม มาจากอะไร ก็สามารถ ดูออกได้ง่ายมาก ที่มาก็คือ จากลักษณะ ของท่า ที่มีลักษณะเป็น สามเหลี่ยม ในการฝึกโยคะ ท่านี้จะอยู่ ในเกือบทุกรูปแบบ ในคลาสแต่ละคลาส เป็นอาสนะ ที่ใช้ฝึก เพื่อสร้างรากฐาน ของขาทั้งสอง ที่ติดพื้น ให้ความมั่นคง และแข็งแรง เพื่อช่วยในการ ปรับสมดุลของร่างกาย เวลาที่อยู่ในการฝึก

รวมถึงเป็น การฝึกยืดเหยียด ส่วนด้านข้าง ของร่างกาย โดยเฉพาะ เอ็นร้อยหวาย ซึ่งในอาสนะนี้ จะใด้ประโยชน์ จากเอ็นร้อยหวายที่ ได้ถูกยืดออกเต็มที่ ขาทั้งสองได้รับ การยืดเหยียด สะโพก สีข้างที่ ถูกยืดออก จากการโยกย้าย เพื่อสร้างความสมดุลในท่า นอกจากนั้น หัวไหล่ และหน้าออก ก็ได้ยืดขยายออก เพื่อปรับเรื่อง ลมหายใจเวลา ที่อยู่ในท่า ให้ผ่อนคลาย ได้มากที่สุด

Triangle Pose 1

 

Step 1.
  • เริ่มต้นโดย ใช้ท่า Warrior 2 เพราะตำแหน่งเท้า  เป็นตำแหน่งเดียวกัน
  • แตกต่างกัน ตรงที่ ยืดขาที่อยู่ ด้านหน้าให้ตึง
  • สะโพกปรับ ให้อยู่ตรงกลาง ไม่บิดเบี้ยว
  • แขนทั้งสอง เหยียดตรง ความสูงระดับไหล่
  • เก็บกระดูกซี่โครง หลังตรง

Triangle Pose 2

 

Step 2.
  • ยังคงค้าง อยูในท่าเดิม
  • เกร็งขา ทั้งสองข้าง ให้แน่น ยื่นมือซ้าย ไปด้านหน้า เหยียดตรง เสมอไหล่
  • โยก สะโพกขวา ไปด้านขวา เพื่อยืดช่วงตัว ทั้งสองข้าง
  • ลำตัวตรง ไม่แอ่นหลัง เก็บหน้าทอง สูบสะดือ

Triangle Pose 3

 

Step 3.
  • ลดมือ ข้างซ้ายแตะ ที่บริเวณหน้าแข้ง ซ้าย แต่ถ้าร่างกาย ยืดได้มาก โดยที่ลำตัว ไม่ต่ำ ตัวไม่จม สามารถนำมือ ซ้ายวางลงที่พื้นได้
  • ส่งแขนขวา ชี้ขึ้นเพดาน คุมไหล่ ทั้งสองข้างให้อยู่ ในแนวเดียวกัน
  • หันศรีษะ มองขึ้นเพดาน ตามแนว มือขวา พยายาม ปรับระดับศรีษะ การมองให้สบาย
  • อยู่ในท่า ประมาณ 5 ลมหายใจ เข้าออก แล้วสลับไป ทำอีกด้าน

ข้อสังเกตุ

ท่านี้อาจจะ ดูเหมือนว่า ไม่ยากอะไร แต่ถ้าได้ ฝึกเข้าท่าจริงๆ จะสามารถรู้ ได้เลยว่า การเข้าท่าให้ ถูกต้องนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย สำหรับผู้ ที่เริ่มฝึกแนะนำให้ ฝึกเข้ากับ กำแพงก่อน เพื่อเป็นใช้ กำแพง เป็นตัวช่วยจัด สะโพก ให้ถูกต้อง และเพื่อป้องกัน กระดูกสันหลัง แอ่นหรือ โค้งงอ และเพื่อช่วย ในเรื่องการ ทรงตัว

นอกจากนั้น ด้านข้างลำตัว ทั้งสองข้างเวลา ที่อยู่ในท่า การยืดที่ถูกต้อง ด้านข้างจะต้อง ไม่มีรอยย่น เพราะลำตัว ทั้งสองฝั่ง ต้องถูกยืดออก โดยใช้ความรู้สึก ในการยืด จากท่อนตัว ด้านบน ตั้งแต่เอวแล้ว ยืดออกเป็น แนวขนาน หมุนหัวไหล่ขวา เปิดหน้าอก บิดตัวด้านข้าง จากเอว เพื่อไม่ให้หน้าอก และลำตัวนั้นคว่ำ

สำหรับผู้ที่เคยฝึกโยคะ

สำหรับผู้ที่ฝึก เป็นประจำ ลองเปลี่ยนตำแหน่ง การวางแขน เพื่อเป็นการ ฝึกสมดุล และเพิ่มการ ยืดเหยียด ด้านข้างของลำตัว ให้มากขึ้น โดยแทนที่ จะส่งแขนตรง ชี้ขึ้นเพดาน ให้เปลี่ยนเป็น เหยียดแขนตรง แนบใบหู เป็นแนวขนาน ไม่ปล่อยให้แขนงอ และอย่าให้อกจม ยังคงหงายแผ่นอก ให้เปิดและ ให้เป็นแนวเดียว กันกับหัวไหล่

บทความที่เกี่ยวข้อง

Warrior 2 Pose

0

Beginner โยคะอาสนะ ในการสร้าง ขา ที่แข็งแรง

Warrior 2 Pose

Warrior 2 Pose (Virabhadrasana II)

ท่านักรบ 2 เป็นชื่ออาสนะ ที่ถูกเรียก โดยภาษาไทย ท่านี้เป็น อาสนะที่มี ความสง่างาม แสดงถึง ความแข็งแรง ตรงตามชื่อ คือคุณสมบัติ ของนักรบ ที่ควรจะมีใน การออกรบ ท่านี้เวลาฝึก ครูบางท่าน อาจจะ แนะนำให้ผู้ฝึก นั้นเข้าถึง อารมณ์และ ความหมายของท่าว่า ให้คิดว่าตัวเอง เป็นนักรบ อารมณ์ที่ส่งออกมา จะยิ่งทำให้ท่า มีความ แข็งแรงยิ่งขึ้น

ประโยชน์ที่ได้ จากท่านี้ มีมากมาย ได้ความแข็งแรง ในทุกๆส่วน ของร่างกาย แต่หลักๆ ก็จะเป็นในส่วน ของขาที่ เมื่อผู้ฝึก ฝึกเป็นประจำ จะทำให้มีกำลังขา ที่แข็งแรงมากขึ้น

ท่านี้ดูเหมือน จะง่าย แต่เมื่อเริ่มฝึก จะรับรู้ได้ เลยว่า การเข้าท่าที่ ถูกต้องนั้น จะต้องใช้กำลัง ของร่างกายใน ส่วนต่างๆ ประกอบเข้า ด้วยกัน และจำเป็นจะ ต้องแยกแยะ อวัยวะ ที่เกี่ยวข้อง ในทิศทาง ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กำลังจากขา จะเป็นฐาน ที่สำคัญ ที่ทำให้อยู่ ในท่านี้ได้นาน

Mountain Pose1

Goddess Squat 1

Step 1.
  • ยืนเตรียมพร้อม ในท่า Mountain Pose
  • เท้าทั้งสองข้าง ชิดกัน หัวนิ้วโป้ง สามารถชิดกันได้ แต่ส้นเท้าแยก ห่างจากกันเล็กน้อย
  • ลมหายใจออก ยกเท้าขวา แยกส่ง ไปด้านหลัง วางส้นเท้าลง
  • กางแขน ทั้งสองข้าง ไปด้านข้างลำตัว ความสูง ระดับไหล่ เป็นแนวที่ ขนานกับพื้น
  • แขน ทั้งสองข้าง ตั้งยืดตรง ไม่งอข้อศอก ไหล่ขยาย กว้างออก ฝ่ามือ คว่ำฝ่ามือ ทั้งสองข้างลง นิ้วทั้งสิบ เหยียดตึง

Warrior 2.3

Step 2.
  • จัดส้นเท้าซ้าย ที่อยู่ ด้านหน้า ให้อยู่ในแนว ตรงกลาง ระหว่างเท้าขวา ที่อยู่ด้านหลัง
  • หันลำตัว ไปด้านขวา  เท้าขวาหลัง วางเต็มเท้า พยายามกด ส้นเท้าขวา ด้านนอก ให้ติดพื้น
  • ย่อหัวเข่า ข้างซ้ายขนาน เป็นแนว 90 องศา หัวเข่าต้อง ไม่เลยข้อเท้า
  • หัวเข่าข้างซ้าย ต้องเป็นแนวตั้งฉากตรงกับระดับ ข้อต่อสะโพก
  • หมุนต้นขาขวา ออกด้านนอก หมุนต้นขาซ้าย เข้าด้านใน
  • รับรู้ถึงการ ยืดตัวจากแกนกลาง

Warrior 2.4

Step 3.
  • แขนทั้งสอง ข้างกางออก เหยียด เป็นแนว เส้นตรง เดียวกัน กับระดับหัวไหล่ อย่าปล่อย ให้แขนตก
  • ลำตัวตั้งตรง ไม่เอนซ้าย หรือเอนขวา หรือ เอนไป ด้านหลัง
  • การยืดเหยียด ด้านข้างลำตัว ทั้งสองข้าง ต้องยาวเท่ากัน
  • เก็บหน้าท้อง ประคองหลังไว้ ไม่ให้หลังแอ่น หรือหลังโค้ง กดกระดูกหัวเหน่าลง เพื่อไม่ให้ก้นโด่ง
  • หันศรีษะ และหน้ามองไปด้านซ้าย คางเป็นแนวขนานกับหัวไหล่
  • ค้างอยู่ในท่า ประมาณ 5 ลมหายใจ เข้าออก
  • ออกจาท่า ด้วยลมหายใจเข้า ยกเท้าขวา กลับไปคู่เท้าซ้าย สู่ท่าเริ่มต้น แล้วสลับไปทำ อีกข้าง

ข้อสังเกตุ

การฝึกในท่านี้ สำหรับผู้ที่เริ่มฝึก ถ้ารู้สึกว่า ยืนไม่อยู่ หรือยืนไม่มั่นคง สามารถเริ่มฝึก โดยใช้ตัวช่วย คือกำแพง เป็นตัวช่วย โดยพยายาม ให้หลัง และสะโพก ติดกับกำแพง ให้ได้มากที่สุด ลักษณะ เหมือนเรากำลัง อยู่ในท่านี้ ที่กำลัง พิงกำแพงอยู่เพื่อให้หลัง เป็นแนวตั้งตรง

สำหรับผู้ที่เคยฝึกโยคะ

สำหรับผู้ที่เคย ฝึกท่านี้แล้ว และสามารถอยู่ในท่าได้ถูกต้อง และยืนได้มั่นคง ลองเพิ่มท่า ในลักษณะ ของการยืด ขยายตัว ด้านข้าง จากเอวเป็นต้นไป โดยการเอนตัว ไปด้านซ้าย ด้านขวา โดยเน้นการยืด ลำตัว ก็จะทำให้ รับรู้ถึงการยืดเหยียด ที่ลึกขึ้นโดยมี ฐานลำตัวที่มั่นคง

บทความที่เกี่ยวข้อง

Seated Forward Bend

0

Beginnerโยคะอาสนะสำหรับการยืดเหยียด

Seated Forward Bend

Seated Forward Bend (Paschimottanasana)

อาสนะนี้ เป็นอาสนะ ที่เป็นท่า  พื้นฐานใน การฝึกโยคะ อาสนะนี้จะช่วย ยืดในส่วนหลัง ของร่างกายได้ดี ตั้งแต่น่อง ไปจนถึง เอ็นร้อยหวาย และยังช่วย ยืดกล้ามเนื้อ บริเวณต้นขาหลัง ไปจนถึงยืด กระดูกสันหลัง  ท่านี้ ยังช่วยยืดและเปิดสะโพก ได้ดีอีกด้วย

ดังนั้นท่านี้ มักจะเป็นประโยชน์ สำหรับนักวิ่ง ที่มักจะมี ปัญหาใน เรื่องของ เอ็นร้อยหวาย ที่ตึงจนเกินไป เพราะถ้าปล่อย ไว้อาจจะทำ ให้เกิดอาการ เจ็บปวดตามมา ทีหลัง นอกจากนี้ ยังถือเป็นท่า ที่ช่วยผ่อนคลาย ความเครียดได้ และปรับอารมณ์ ให้ดีขึ้นได้ เช่นกัน

Seated Forward Bend 1

Step 1.
  • นั่งลงที่พื้น เหยียดขาตรง เท้าชิดกัน ไปด้านหน้า
  • กดส้นเท้า ให้ติดแน่นกับพื้น
  • จัดสะโพก โยกไปมา ให้น้ำหนักอยู่กระดูกรองนั่ง
  • กระดกข้อเท้า เข้าหาตัว กดฝ่ามือทั้งสองข้าง ไว้ข้างลำตัว
  • ยืดแผ่นอกขึ้น หลังตรง เก็บซี่โครง

Seated Forward Bend 2

Step 2.
  • หายใจเข้า ส่งแขนเหยียดตรง ขึ้นชี้เพดาน ยืดลำตัว จากข้อต่อ ช่วงสะโพก
  • ยืดกระดูกเชิงกราน สูบสะดือสูง
  • หลังตรง ไม่แอ่นหลัง หรือโค้งหลัง
  • กดส้นเท้าให้ตืดพื้น และกระดก ปลายเท้าอยู่เสมอ

Seated Forward Bend 3

Step 3.
  • เอื้อมมือไปที่ ปลายเท้า
  • ใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง จับไปที่นิ้งโป้งเท้า ทั้งสองข้าง
  • ยืดลำตัว เอนตัว ไปข้างหน้า หลังเป็นแนวตรง ไม่โค้งงอ
  • เชยคางมอง ไปด้านหน้า
  • สูบสะดือ ให้ใกล้กับ กระดูกสันหลัง ให้มากที่สุด

Seated Forward Bend

Step 4.
  • ลมหายใจออก ยืดลำตัว ไปด้านหน้า
  • เพื่อให้ลำตัว ให้หน้าท้องส่วน ใกล้กับต้นขา ให้หน้าผากใกล้กัน กับหน้าแข้ง
  • มือทั้งสองข้างยืด หัวนิ้วโป้งเท้า ให้แน่น กางข้อศอก ออก เพื่อช่วยในการ พับตัวได้ลึกขึ้น
  • พยายาม อย่าให้หลังงอ โดยใช้การสูบสะดือ ประคองหลัง ให้ตรง ให้มากที่สุด

ข้อสังเกตุ

สำหรับผู้ที่เริ่มฝึก อย่าเพิ่งคิดแต่ จะโน้มลำตัว ให้ต่ำที่สุด หรือพยายาม โน้มตัวให้ติดขา ถ้ายังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมี อาการตึงที่ ขามาก แนะนำให้ ฝึกโดยการ งอหัวเข่า และให้เน้น ความรู้สึกไป ที่กระดูกสันหลัง ที่ต้องยืด ให้ได้มากที่สุด โดยที่ หลังไม่งอ แล้วค่อยๆ พับลำตัวลง ให้ใกล้ กับขา โดยที่หัวเข่า ยังงออยู่

แล้วหลังจากนั้น เมื่อสามารถ ยืดตัวโดยที่ กระดูกสันหลัง ไม่งอแล้ว ค่อยๆเหยียดขา ให้ตรงขึ้นเรื่อยๆ พร้อมกับ ลมหายใจออก ต้องอย่าลืมว่า เมื่อไหร่ที่ โน้มตัวลงไปแล้ว กระดูกสันหลัง นั้นเริ่มโค้งงอ ให้ดันลำตัวขึ้นมา จัดกระดูกสันหลัง ให้ตรงก่อน หรือเลือกฝึก โดยการงอหัวเข่าก่อน ก็ได้เช่นกัน

สำหรับผู้ที่เคยฝึกโยคะ

สำหรับผู่ที่เคย สามารถเพิ่ม การฝึก ให้เกิดการ ยืดเหยียด ให้ได้มากขึ้น โดยการเลื่อน ตำแหน่งของมือที่ จับเท้าทั้งสองข้าง ให้ไปด้านหน้า ของเท้าให้มากขึ้น จากที่จับ ที่หัวนิ้วโป้งเท้า ก็เปลี่ยนเป็น จับบริเวณ ขอบเท้า ด้านนอก หรือถ้ามี ความยืดหยุ่นที่ดี ก็สามารถนำข้อมือ จับไขว้หากันที่ บริเวณจมูกเท้า

หรืออาจจะ ใช้อุปกรณ์ ช่วยเสริม Block มาวางไว้ด้านหน้า จมูกเท้า แล้วใช้มือจับ บริเวณขอบ Block เพื่อเป็นช่วยยืด ให้ได้มากยิ่งขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

Pigeon Pose

0

Beginnerโยคะอาสนะสำหรับการยืดเหยียด

Pigeon Pose

Pigeon Pose (Eka Pada Rajakapotasana)

อาสนะนี้ เป็นการฝึกเพื่อ ยืดเหยียด สะโพก ให้เปิดออก และมีความ ยืดหยุ่นมากขึ้น เป็นอาสนะที่ใช้ฝึก เป็นประจำและ จะเห็นได้อยู่บ่อยๆ ในคลาสโยคะ เมื่อฝึกไปได้ ซักระยะ ผู้ฝึกจะ สังเกตุได้ว่า สะโพกทั้งสองฝั่ง นั้นมีความยืดหยุ่น ที่แตกต่างกัน ข้อสำคัญ เวลาฝึกต้อง พยายามคุมสะโพกทั้งสอง ให้มีระดับอยู่ ตรงกลาง เพื่อไม่ให้เกิด ภาวะสะโพกเบี้ยว

อาสนะนี้ นอกจากยืดเหยียด และเป็น การบริหารเพื่อ เปิดสะโพกแล้ว ยังสามารถ ช่วยในการ ยืดเหยีดต้นขา และขาหนีบ ให้ได้ยืด ขยายออก คลาย กล้ามเนื้อที่ยึดติด ที่ไม่ค่อยได้รับ การบริหารหรือ อาจจะเกิด ปัญหาจาก การใช้งาน จากการ นั่งทำงานเป็น เวลานานๆ ได้รู้สึกผ่อนคลายได้ดี หลังจากที่ฝึกเสร็จ

All Four Position

Pigeon Pose 1
Step 1.
  • เริ่มต้นจากที่ All Four Position
  • ยกเท้าขวา ไปวางใกล้กับ ตำแหน่ง ของมือซ้าย
  • นำหัวเข่าไปวาง ใกล้มือขวา โดยเฉียงหัวเข่า ออกเล็กน้อย
  • หน้าแข้งให้วาง ในระดับตั้งฉาก กับข้อเท้า และหัวเข่า ถ้าทำได้
  • ป้องกันหัวเข่า ด้วยการ กระดกข้อเท้า เพื่อไม่ให้เกิดการ เจ็บที่หัวเข่า
  • ทดลองยืด สะโพกด้านนอก โดยที่ไม่รู้สึกว่า มีอาการเจ็บที่หัวเข่า

Pigeon Pose

 Step 2.
  • เลื่อนขาซ้าย ไปข้างหลัง เป็นแนวตรง ส้นเท้าชี้ขึ้น บนเพดาน
  • หลังเท้าซ้าย ต้องพยายาม ให้แนบติด กับพื้น
  • พยายามกดหลัง เท้าด้านนิ้วก้อย ให้แนบติดกับพื้น
  • คุมสะโพกทั้ง สองฝั่งให้ เป็นแนวตรงขนานกันทั้งสองฝั่ง ไม่เอียงไปฝั่งใด ฝั่งหนึ่ง เพื่อป้องกัน สะโพกเบี้ยว

Pigeon Pose 3

Pigeon Pose 4
Step 3.
  • ลมหายใจเข้า ยืดกระดูกสันหลัง สูบสะดือสูง ขยายหน้าอกกว้าง
  • หายใจออก เดินมือทั้งสอง ไปข้างหน้า พร้อมพับตัวลง จากเอว หลังไม่โค้งงอ
  • ลดร่างกาย ส่วนบน ลงสู่พื้น
  • โดยสามารถวาง แขนหรือ หน้าผาก ที่พื้นก็ได้
  • ค้างท่าไว้ประมาณ 5 ลมหายใจ เข้าออก โดยพยายาม ให้รู้สึกผ่อนคลาย สะโพกที่ได้รับ ถูกการยืด หลังจากนั้น กลับสู่ท่าเริ่มต้น และสลับกลับ ไปทำอีกด้าน

ข้อสังเกตุ

สำหรับผู้ ที่เริ่มฝึก อาจจะ รู้สึกถึง การยืด สะโพกที่เจ็บมาก ถ้าเลือกวาง ตำแหน่งของ หน้าแข้งให้ เป็นแนวขนาน ช่วงแรก ของการฝึก เพื่อให้สะโพก ได้รับการ ยืดออกโดยที่ไม่ เจ็บมาก และป้องกันการ บาดเจ็บจาก หัวเข่า สามารถ เริ่มจากการนำข้อเท้า วางตำแหน่ง ที่ใกล้กันกับ สะโพกด้าใน ก่อนได้ และหลังจากนั้น เมื่อร่างกาย เริ่มชิน ก็ค่อยๆเริ่ม ขยับตำแหน่ง ของหน้าแข้ง ให้สูงขึ้น จนข้อเท้า และหัวเข่า เป็นแนวเดียวกัน

เมื่อเอนร่างกาย ส่วนบนลงหาพื้น ถ้าหน้าผากยังไม่ติดพื้น หรือไม่สามารถจะ วางแขนแนบ ลงที่พื้นได้ ให้ใช้ Block เป็นตัวช่วย ในการรับนน้ำหนักก่อนได้ หรือใช้ข้อศอก เป็นตัวรับ น้ำหนัก ก็ได้เช่นกัน อย่าลืมว่า จะต้องรู้สึก ผ่อนคลายเมื่ออยู่ในท่า บริเวณคอ และหัวไหล่ ต้องผ่อนคลาย ไม่เกร็งจนเกินไป

สำหรับผู้ที่เคยฝึกโยคะ

สำหรับผู้ที่ ฝึกในอาสนะนี้ จนร่างกาย และสะโพกเริ่ม ยืดขยายได้ดี ลองฝึกเพิ่ม โดยแทนที่ จะเอนร่างกายส่วนบน ลงที่พื้น ให้เปลี่ยน เป็นนั่งโดย ใช้มือทั้ง สองข้าง วางใกล้กับสะโพก ไต่มือเดินไปด้านหลัง จนแขนตึง เท่าที่ทำได้ ใช้นิ้วมือ ยันพื้น ยกขยายอก ช่วงบนขึ้น หาเพดาน  เชยคางมองขึ้นด้านบน

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ การฝึกโยคะ เป็นประจำทำให้โรคและอาการเหล่านี้หายไป

0

คุณ รู้หรือไม่ การ ฝึกโยคะ เป็นประจำนั้น สามารถทำให้ อาการของโรค หลายๆโรคนั้น หายไปและยังทำให้มีสุขภาพ ที่แข็งแรงขึ้นกว่าเดิม คนเราเมื่อตอน สมัยยังวัยรุ่น เรื่องการเจ็บป่วย แทบจะไม่ค่อยมีให้เห็น ยิ่งเรื่องเข้าโรงพยาบาล แทบจะไม่ได้แวะเวียนเข้าไปเลย นอกจากต้องเข้า ไปรับการตรวจสุขภาพประจำปี เท่านั้น

แต่เมื่อก้าวผ่าน ช่วงวัยรุ่นไป ร่างกายเริ่มที่จะพัฒนา ช้าลงเนื่องจาก ปัจจัยหลายๆ ในชีวิต เช่น วัยและอายุที่มากขึ้น สิ่งแวดล้อม อาหารการกิน สังคม เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้ ต่างมีผลต่อสุขภาพ ทั้งภายใน และภายนอก แบบในระยะยาว เพราะสิ่งเหล่านี้ เป็นตัวแปรสะสม ที่จะส่งผลต่อสุขภาพ ของแต่ละคนว่า จะมีผลที่ตกกระทบ มากน้อยเพียงใด

เมื่อมีอาการเจ็บป่วย แน่นอนที่สุด ทุกคนก็ต้องนึกถึง โรงพยาบาล นึกถึงคุณหมอ นึกถึงยา ที่จะสามารถ ช่วยบรรเทา หรือรักษา เพื่อให้หายไปจากอาการ ของโรคต่างๆ ที่เป็นอยู่ วิธีนี้ถือเป็นทางเลือก ปลายเหตุ ที่สามารถช่วย หรือทำให้ดีขึ้นได้ แต่จริงๆแล้ว การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ก็คือต้อง แก้ปัญหาจาก ต้นเหตุ

การออกกำลังกาย การปรับเปลี่ยน อาหารการกิน การดูแลรักษา คุณภาพชีวิต ของเราให้ดี สิ่งนี้ต่างหาก ที่จะเป็น การสร้างพื้นฐานให้ ชีวิตของเรานั้น มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ง่ายดายจนเกิน ความจำเป็น

การยืดเหยียด

รู้หรือไม่ การ ฝึกโยคะ เป็นประจำ ทำให้โรคและอาการเหล่านี้หายไป

1. โรคเครียด การออกกำลังกาย เป็นกิจกรรมที่ทำให้ สมองนั้นได้พักเรื่องเครียด ชั่วคราวได้ดี การฝึกโยคะ ก็คือการออกกำลังกายชนิดนึง เมื่อได้ฝึกเป็นประจำ จะทำให้ความเครียดที่มีนั้น ค่อยๆหายไป เพราะอะไร การฝึกโยคะ เป็นการฝึกที่ต้อง ใช้สมาธิที่อยู่กับร่างกาย และลมหายใจ

ดังนั้นผู้ฝึกโยคะ หลายๆคนจะได้รับ คำแนะนำจากครูผู้ฝึก ทุกครั้งว่า ก่อนฝึกทุกคน จะต้องพยายาม กำจัดเรื่องเครียดจ ากภายนอกออกไป ชั่วคราว ก่อนเริ่มฝึก เพราะเป็นสิ่งจำเป็น อย่างมากเพื่อให้ได้ รับประโยชน์อันสูงสุด ที่ผู้ฝึกควร ที่จะได้รับ ในการฝึกโยคะ ในแต่ละครั้งนั่นเอง

2. อาการปวดหลัง ปวดตามข้อ โยคะเป็นลักษณะ การออกกำลังกาย ที่เน้นในเรื่อง ของการยืดเหยียดร่างกาย ดังนั้นในการฝึกแต่ละครั้ง ร่างกายตามส่วนต่างๆ จะได้รับการยืดเหยียด อย่างเต็มที่ ทำให้ข้อต่อต่างๆ ของร่างกายนั้น ได้ขยายมากขึ้น จึงทำข้อต่อต่างๆของร่างกาย นั้นแข็งแรง อาการเจ็บปวด ตามข้อต่างๆจึงมี อาการที่ดีขึ้น หรือหายจากการเจ็บปวด

3. โรคท้องผูก ถ่ายไม่ปกติ การฝึกโยคะ นอกจากจะทำให้ ร่างกายได้รับการยืดเหยียด ได้ดีแล้วนั้น ยังมีในเรื่องของการ บิดอวัยวะภายใน โดยนำท่าทางอาสนะ ของโยคะมาใช้ในการฝึก ซึ่งอาสนะนี้ ส่งผลไปถึงการทำงานของลำไส้ ที่มีผลต่อ อาการของ โรคท้องผูก ถ่ายไม่เป็นปกติ ทำให้อาการเหล่านี้ดีขึ้น จนเป็นปกติในที่สุด

4. โรคนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท การฝึกโยคะเป็นการนำพา ร่างกายของเรา ให้ได้รับการยืดเหยียด ในทุกๆส่วน ของร่างกาย ดังนั้นหลังกายฝึก ผู้ฝึกจะรับรู้ได้ว่า ร่างกายนั้น ได้รับการผ่อนคลาย อย่างเต็มที่ ทำให้ผู้ที่มีอาการนอนหลับยาก หรือนอนไม่หลับนั้น มีอาการที่ดีขึ้น จากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ถ้าได้ฝึกเป็นประจำ

5. อาการปวดหัวไมเกรน การฝึกโยคะ ทำให้การทำงาน ของระบบโลหิต ในร่างกายนั้นสะดวก ได้ดีมากขึ้น เพราะในอาสนะของโยคะ มีหลายอาสนะที่ ทำให้ระบบโลหิตไหลเวียน ลงศรีษะได้อย่างดี ลดอาการเหนื่อยล้า ของระบบประสาท ได้อย่างมีปะสิทธิภาพ ทำให้สามารถบรรเทา อาการปวดหัวธรรมดา หรืออาการปวดหัวไมเกรน ได้ดี

happy life

บทส่งท้าย

” เราเลือกให้ร่างกายเจ็บปวด ดีกว่าร่างกายเลือกให้เราเจ็บปวด ” ข้อความสั้นๆ แต่ความหมายโดนใจ อย่างแรง สำหรับผู้ที่ เริ่มที่จะสนใจ การออกกำลังกาย เป็นเรื่องธรรมดา ที่ช่วงแรกๆ ร่างกายจะรู้สึกล้า และเจ็บปวดมาก แต่ขออย่าท้อ เพราะอาการที่เจ็บปวด เป็นการเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อ ที่เราไม่ค่อยได้ใช้ ไม่ใช่อาการเจ็บปวด ที่ต้องกังวล หรือทำให้ล้มเลิกที่จะออกกำลังกาย

เพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต และเพื่อภูมิคุมกัน ที่แข็งแรงให้กับ ร่างกายของเรา ท่องไว้ให้ขึ้นใจ สิ่งที่มีคุณค่า ที่สำคัญในชีวิต ที่สำคัญที่สุด มากกว่าเงินทอง ก็คือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย เพราะถ้าเรา ไม่สนใจดูแล สุขภาพของตัวเอง ไม่ว่าเราจะมีเงินทอง หน้าที่การงานที่มั่นคง แค่ไหน ทุกอย่างที่สร้างหรือพยายามหามา ก็จะสูญเปล่าถ้าเรา ต้องเจ็บป่วยและต้องนอนรักษาตัวเอง ในโรงพยาบาล

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความรัก กับ ความทรงจำ ที่ยังคงอยู่ไม่ลืมเลือน

0

ความรัก ที่เป็น ความทรงจำ ที่ไม่มีวันลืม เคยมั้ย กับเรื่องราว ของความรัก เมื่อเกิดขึ้น และต้องจบลง ไม่ว่าจะด้วย เหตุผลใดๆก็ตาม แต่ได้ทำให้เรื่องราว ของคนทั้งสอง นั้นได้จบสิ้นลง ไม่สามารถ สานต่อความฝัน ด้วยกันได้อีก  ต่างคนต่างแยกย้าย ไปดำเนินวิถีชีวิต ในแบบของตัวเอง

เรื่องราว ความรัก ของคนทั้งสอง สิ้นสุดลง แต่ ความทรงจำ มากมาย กลับไม่มีวันที่ จะเลือนหาย ไปจากหัวใจ ได้เลย ยังคงตอกย้ำ ยังคงระลึกถึง และนึกถึง อยู่ตลอดเวลา รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง หรือรู้ตัวอีกทีก็นั่ง คิดถึงเรื่องราวเก่าๆ อยู่เป็นหลายชั่วโมง

เรื่องราวของความทรงจำ

1.ความรัก ความห่วงใย ที่เคยมีต่อกัน

ในทุกวันๆ การพูดคุย สอบถามคอยดูแล กันและกัน ที่มีให้กัน เปรียบเสมือน กำลังใจ ที่คอยสร้างความสุข และสร้างสิ่งที่สวยงาม ให้กับทั้งคู่ เมื่อวันนึง สิ่งนี้มันหายไป กลับกลายเป็นแค่ ความทรงจำที่เคยได้รับ หรือเคยเป็นผู้ให้ ทุกครั้งที่นึกถึง บางครั้งน้ำตาก็ไหล ออกมาโดยไม่รู้ตัว

ความคิดถึง

2.สถานที่ต่างๆที่เคยได้ไปด้วยกัน

สถานที่ทุกสถานที่ ที่เคยไป ถูกแต่งเติมไปด้วย เรื่องราว ของคนทั้งสอง เปรียบเสมือน ภาพวาด ที่เมื่อได้ มีโอกาศเดินทาง กลับไปอีกครั้ง ภาพเหล่านั้น จะยังคงอยู่ และปรากฏขึ้นใน ความทรงจำ ทำให้เหมือนมอง เห็นตัวเอง และกลิ่นอายของความรู้สึก ในช่วงเวลานั้นๆ กลับมามีชีวิตอีกครั้ง

3.ประสบการณ์ ที่ต้องจดจำ

เรื่องราวต่างๆ ที่มีหลากหลาย ตลอดระยะ เวลาที่ได้ใช้ ด้วยกัน ทำให้คน ทั้งคู่ได้ พบเจอกับประสบการณ์ ต่างๆ ร่วมกัน ไม่ว่าจะ เป็นประสบการณ์ ในเรื่องที่ดี หรือประสบการณ์ ในเรื่องที่ไม่ดี หรือประสบการณ์ แปลกใหม่ ที่เป็นครั้งแรก ของทั้งคู่

ประสบการณ์ บางอย่าง ที่ทำให้ต้องพบเจอกับ ความเสี่ยง หรืออันตราย แต่คนทั้งคู่ สามารถผ่าน สถานการณ์ แบบนั้นมาด้วยกันในช่วงเวลานั้นๆ  มันต้องอาศัยความเชื่อใจ และความไว้ใจ ของคนทั้งคู่เป็นอย่างมากว่า เราจะต้องผ่านมัน ไปด้วยกัน ให้ได้ และเมื่อมันสำเร็จ มันจึงเป็นเรื่องราวที่ คงอยู่ในความทรงจำที่ ไม่อาจจะลืมได้จริงๆ

4.แบ่งปัน ช่วงเวลาที่ย่ำแย่ ที่สุดในชีวิตด้วยกัน

บางครั้งเวลาที่เรา เจอเรื่องแย่ๆ กลับมีคนๆนึง ที่อยู่เคียงข้าง และคอยให้กำลังใจ และรับรู้ได้ถึง ว่าสิ่งที่เราเจอนั้น มันแย่ขนาดไหน อยู่เคียงข้าง แบบเข้าใจ และคอยช่วยเหลือ ถ้าเราต้องการ เรื่องราวกลาย เป็นความทรงจำ ที่มีคุณค่า และทำให้ต้องนึกถึง ในทุกๆครั้งที่ เมื่อต้องเจอ กับเหตุการณ์ ที่ย่ำแย่อีกครั้ง โดยลำพัง

การบอกลา

5. เหตุการณ์ ในวันที่ต้องบอกลา

แน่นอนที่สุด เรื่องราวความทรงจำ ที่น่าเจ็บปวดที่สุด ก็คือวันที่ต้อง ตัดสินใจ ที่ต้องเลิกลากัน สุดท้ายแล้ว เราก็ไปด้วยกัน ไม่ได้จริงๆ การเลิกลา อาจจะจากลา ด้วยความเจ็บปวด หรืออาจจะเลิกลา กันด้วยความเข้าใจ แต่ถึงอย่างไร ก็หนีไม่พ้น ที่จะต้องพบเจอกับ ภาพความทรงจำ ที่เจ็บลึกอยู่ในใจ ทุกครั้งที่ต้องนึกถึง

อยู่กับความทรงจำให้มีความสุข

เรื่องราวของความรัก ที่กลับกลายเป็นอดีต ที่สร้างความทรงจำ ที่เจ็บปวด มันไม่ได้หมายความว่า เราจะอยู่กับ เรื่องราวแบบนี้อย่างมีความสุข ต่อไปไม่ได้ สิ่งที่ผ่านมาแล้ว ก็ต้องปล่อย ให้มันผ่านไป สิ่งที่ผิดพลาด ในอดีตจนกลาย เป็นความทรงจำ ที่เจ็บปวด ก็ให้มองมันอย่างเข้าใจ และหาวิธีแก้ไข หรือปรับเปลี่ยน เพื่อไม่ให้เรานั้น ทำผิดพลาดได้อีก

เรื่องราวความรัก ที่เป็น ความทรงจำใน เรื่องที่ดีๆ ที่เคยมีร่วมกัน ก็ให้คิดถึงกันในรูปแบบ ของความสุข ที่เคยมีร่วมกัน ประสบการณ์ดีๆ ความรู้สึกดีๆ ที่มีให้กัน เป็นสิ่งสวยงาม ที่คนสองคนเคยมีให้กัน เมื่อมันเป็นความทรงจำ ที่สวยงาม เราก็ควรที่จะจดจำ และนึกถึงกันในรูปแบบที่ขอบคุณ และเป็นกำลังใจให้แก่กัน

เมื่อความรักมันไปด้วยกันไม่ได้ เมื่อ ความสัมพันธ์ถึงทางตัน ไปต่อไม่ได้แล้ว ก็ควรที่จะมองให้เข้าใจ และเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยมีพื้นฐานของ ความทรงจำในอดีต เป็นตัวนำทางให้เรา ก้าวต่อไปในเรื่อง ของความรัก อย่างมีสติ และ รักตัวเองให้มากขึ้น เพื่อวันนึงเราจะได้เจอ รักแท้ในแบบของเราเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง