โยคะลดการปวดประจำเดือน สำหรับผู้หญิง ที่มีประจำเดือน แล้วมักจะมี อาการปวด อยู่เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งนอกจาก จะแก้ปัญหา ด้วยการทานยาแก้ปวดแล้ว ยังมีหนึ่ง ทางเลือกที่ จะสามารถช่วย ให้อาการปวดประจำเดือน นั้นบรรเทาลงได้นั่นก็คือ โยคะ การฝึกโยคะ เป็นประจำ จะช่วยทำให้ อาการปวดประจำเดือน นั้นค่อยๆดีขึ้น
การฝึกโยคะ จะทำให้ร่างกาย เกิดอาการผ่อนคลาย และลดอาการเครียดเกร็ง ของกล้ามเนื้อ จึงทำให้ ในบางโรค หรือบางอาการ ที่เกิดการเจ็บปวด จากการเกร็ง ของกล้ามเนื้อ จึงบรรเทาลง อาการปวด ประจำเดือน ก็เช่นเดียวกัน ประโยชน์ ที่ได้จากการฝึก โยคะกับท่าบริหาร ในบริเวณที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยบรรเทา
กระดูกเชิงกราน ที่เครียดเกร็ง ก็ถือว่าเป็น ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ เกิดอาการ ปวดประจำเดือน ดังนั้นเมื่อได้รับ การผ่อนคลาย และบริหารอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยทำให้มดลูก เกิดภาวะผ่อนคลาย อาการปวด ประจำเดือน ที่มักจะทำให้ ได้รับการทรมาน นั้นเบาบางลง เนื่องจากกล้ามเนื้อ มีการยืดขยายได้ดี
ดังนั้น ในบทความนี้ จะนำเสนอท่า โยคะลดการปวดประจำเดือน ที่ช่วยบริหาร ในบริเวณเชิงกราน รวมถึง บริเวณหลังล่าง ซึ่งเป็นบริเวณที่ จะช่วยทำให้ กล้ามเนื้อบริเวณมดลูก ได้รับการผ่อนคลาย และนำไปสู่ การปวดประจำเดือน ที่ลดลง
5 อาสนะ โยคะลดการปวดประจำเดือน
ท่าผีเสื้อ
Bound Angle Pose – Baddha Konasana
- เริ่มต้นจากท่านั่ง โดยการนำฝ่าเท้า ทั้งสองประกบ เข้าหากัน โดยดึง ส้นเท้าเข้า ใกล้บริเวณ กระดูกเชิงกราน ปล่อยให้ หัวเข่า ทั้งสองข้าง กางออกด้านข้าง
- กดกระดูก รองนั่งให้ติด กับพื้น กระดูกสันหลัง ตั้งตรง ใช้มือจับหลังเท้า ด้านนอก และพยายาม กดฝ่าเท้า ให้แนบติดกัน
3. ถ้าร่างกาย มีความยืดหยุ่นพอ ให้ถ่ายน้ำหนัก โดยการพัก ตัวไปด้านหน้า โดยที่สะโพก ยังคงติดพื้น และกระดูกสันหลังตั้งตรง เป็นแนวยาว ไปจนถึง กระดูกต้นคอ
4. ค้างท่าไว้ ประมาณ 5-10 ลมหายใจเข้า-ออก หลังจากนั้น ออกจากท่า โดยการยกหัวเข่า ตั้งตรง และค่อยๆคลายขาเหยียด ตึงผ่อนคลาย
ท่านั่งแยกขา-โน้มตัวลงติดพื้น
Wide Angle Seated Forward Bend – Upavistha Konasana
- กางขาทั้งสอง ข้างไปด้านข้าง ให้กว้างออก จนรู้สึกว่าขา ยืดออก ได้สุดๆ แล้วโดยที่ ต้องรักษา แนวกระดูกสัน หลังให้ตั้งตรง เสมอ
- กระดก ข้อเท้า ทั้งสองข้าง หมุนหัวเข่า และนิ้วเท้า ให้ชี้ตรง ขึ้นหา เพดาน กดขา ให้ติดพื้น และกดกระดูก รองนั่งให้ แนบติดพื้น โดยที่ สันหลัง ตั้งตรง
- พับตัว จาก แนวสะโพก โดย การวางมือ ไว้ด้านหน้า ระหว่าง เท้าทั้งสองข้าง ลมหายใจออก ค่อยๆโน้ม ลำตัว ลงเข้าใกล้พื้น โดย การเดินมือ ทั้งสอง ขยับไป ด้านหน้า
4. พยายาม รักษา ระดับของลำตัว และกระดูกสันหลัง ให้ตั้งตรง หลังต้อง ไม่โค้ง เมื่อหลังเริ่มโค้ง ให้หยุด การเดินมือไป ด้านหน้า และหยุดอยู่ ในท่าโดย ที่แนวกระดูกสันหลัง ตั้งตรง เสมอ
5. ค้างท่า ไว้ ประมาณ 5-10 ลมหายใจ เข้า-ออก ออกจากท่า โดยพยุงลำตัวขึ้น โดยการกด กระดูกรองนั่ง ให้มั่นคง และยังคง ติดกับพื้น เสมอด้วย ลมหายใจออก
ท่าศรีษะ-ถึงหัวเข่า
Head to Knee Forward Bend – Janu Sirsasana
- นั่งเหยียดขา ออกไป ด้านหน้า งอเข่าข้างขวา โดยที่ วางฝ่าเท้าขวา ให้แนบติด ต้นขาข้างซ้าย ด้านใน
- หายใจเข้า กระดก ข้อเท้าซ้าย ยกแขนขึ้น ส่งปลายนิ้ว ชี้หาเพดาน โดยให้ต้นแขน แนบข้างใบหู
- หมุนลำตัว ส่วนบน ไปด้านขาขวา เล็กน้อย
4. ค่อยๆ พับลำตัว โน้มลงจาก แนวสะโพก ด้วย ลมหายใจออก แนวกระดูกสันหลัง ตั้งตรง เปิดหน้าอก และผ่อนคลายหัวไหล่ ใช้สองมือ จับขาขวา ในระดับ ที่เอื้อมถึง โดยที่หลัง ไม่งอ
5. ค้างท่าไว้ ประมาณ 5-10 ลมหายใจ เข้า-ออก ออกจากท่า โดยยกลำตัวขึ้น กดกระดูกรองนั่ง ให้ติดพื้น เสมอ แล้วค่อยๆเหยียดขาตรง และสลับกลับ ไปทำอีกข้าง
ท่าเด็ก
Happy Baby Pose – Ananda Balasana
- เริ่มต้นด้วยการ นอนหงาย งอเข่าเข้าหา ลำตัว ใกล้กับ บริเวณหน้าอก
- หายใจออก ใช้มือจับเท้าด้านนอก หรือด้านในก็ได้ แล้วกาง หัวเข่าออก ให้กว้างกว่าลำตัว เล็กน้อย พยายามกดหัวเข่า ให้ใกล้พื้น มากที่สุด
- ตำแหน่งข้อเท้า และหัวเข่า ตรงกันเป็นแนว 90 องศา กระดกข้อเท้า ดันส้นเท้าใส่มือ ทั้งสองข้างเบาๆ
- เท้าถีบใส่มือ ส่วนมือ พยายามดึงเท้า ลงมา เพื่อให้หัวเข่า ใกลพื้นมากที่สุด เพื่อสร้างแรงต้าน ขยายแนว กระดูกสันหลัง ให้กว้างออก โดยกดกระดูกสันหลัง ให้แนบพื้น พร้อมกับสูบสะดือเข้าหา กระดูกสันหลัง เล็กน้อย
5. รักษาระดับ ความยาวของ กระดูกต้นคอ ให้เป็นแนวตรง และแนบติดพื้น ไม่ยกขึ้นหรือ เกร็งลำคอ
6. ค้างท่าไว้ ประมาณ 1 นาที และออกจากท่า โดยนำขา ที่ยกวางลงที่พื้น เหยียดตรง ด้วยลมหายใจออก
อาการปวด ประจำเดือน ในผู้หญิงมัก จะเป็นเรื่อง ที่ทรมาน เป็นอย่างมาก ซึ่งสำหรับคน ที่ไม่มีอาการ ก็ถือว่า โชคดีไป แต่สำหรับคนที่ ต้องพบเจอ กับอาการ แบบนี้ทุกๆเดือน จะรับรู้ได้ เลยว่า มันทรมาน มากจริงๆ เหมือนกับ ผู้เขียนเอง ที่ประสบปัญหา แบบเดียวกันนี้ ทุกเดือน
แต่หลังจาก ที่ได้ฝึกโยคะ เป็นประจำ ผลที่ได้รับ ก็ทำให้อาการปวด ที่ต้องเจอ ในทุกๆเดือนนั้น บรรเทาลงมาก จึงคิดว่า เมื่อมันได้ผล กับตัวเอง ก็มีความคิดว่า ควรที่จะแบ่งปัน เรื่องราวที่ เป็นประโยชน์ แบบนี้ กับคนที่ พบเจอกับ ปัญหาเดียวกัน เพื่อจะได้ช่วย อาการปวดดัง กล่าวนั้นดีขึ้น