โตอย่างมีคุณภาพ และไม่สร้างปัญหาต่อสังคม

โตอย่างมีคุณภาพ และไม่สร้างปัญหา ต่อสังคม เป็นอย่างไร ต้องทำอย่างไร พื้นฐานโครงสร้างที่สำคัญ ในเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง เมื่อมีมุมมอง และตั้งความต้องการ  เมื่อลูกหลานของเรา เติบโตขึ้นมาแล้ว จะต้องไม่สร้าง ความเดือดร้อน หรือสร้างปัญหา ให้กับสังคม หรือคนอื่นๆ แบบนี้ ก็คงต้องกลับมานั่งคิด กันอย่างจริงจังว่า ต้องทำอย่างไร

ก่อนอื่นต้อง ยอมรับก่อนว่า ในสังคมหรือ วัฒนธรรมของ ของการมีคู่หรือมีครอบครัว การแต่งงานแล้วต่อด้วยการมีลูก เปรียบเสมือนเป้าหมายหลัก ที่ยิ่งใหญ่ สำหรับหลายๆครอบครัว ที่มีความคิดว่า ชีวิตคู่จะเป็นครอบครัวที่ สมบูรณ์แบบก็ต่อเมื่อมีลูก ไม่มีอะไร ที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่สมควร กับความต้องการ ของตัวเองหรือ วัฒธรรมความเชื่อ

แต่สิ่งที่สำคัญเหนือ สิ่งอื่นใดก็คือ ความรับผิดชอบ ต่อสังคมที่บาง สถานะการณ์อาจ ส่งผลกระทบ จากคนในครอบครัว ของเราและเป็นเหตุ ทำให้คนอื่นนั้น ต้องเดือดร้อน หรือรู้สึกไม่สะดวก หรือถูกรบกวน

ปัจจัยพื้นฐานหลักที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อการพัฒนา และ โตอย่างมีคุณภาพ

ปัจจัยพื้นฐานทางครอบครัว ครอบครัว ถือว่าเป็น ปัจจัยพื้นฐานหลัก ในการสร้างค่านิยม ความเชื่อเบื้องต้น แล้วสามารถคิดต่อยอด ในการดำเนินชีวิต หรือตัดสินใจในการกระทำ การอบรมและการสั่งสอน ที่ผู้ใหญ่ส่งต่อ ให้เด็กๆเพื่อเป็นพื้นฐาน ในการใช้ความคิด ถือว่าเป็นสิ่งที่ สำคัญเป็นอย่างมาก

ยกตัวอย่าง เช่น การสั่งสอน ที่ไม่ได้ให้เหตุผล ในการสั่งห้าม แต่เป็นการบังคับ หรือ กล่าวโทษ หรือการดุด่า ที่สร้างความหวาดกลัว มากกว่าการสร้าง ความเข้าใจ ด้วยเหตุผลเดียว คือต้องการให้ เด็กนั้นทำตาม หรือ ให้หยุดการกระทำ ดังกล่าวนัั้นแบบทันทีทันใด โดยไม่คำนึง ถึงเหตุและผล

ห้ามในการกระทำ พฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมที่ไม่ควร จะกระทำในสถาน ที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น สถานที่ที่ไม่ใช่ สำหรับการวิ่งเล่น เมื่อต้องการจะ บอกห้ามมิให้วิ่งเล่น เหตุผลที่แท้จริง ที่เด็กควรที่จะเข้าใจ คือ สถานที่แห่งนี้ ไม่ใช่สำหรับ สถานที่วิ่งเล่น แต่กลับกลาย เป็นบอกเหตุผล กับเด็กที่ไม่สามารถ วิ่งเล่นไม่ได้ เพราะ “รองเท้าที่ใส่อยู่มันลื่น ถ้าจะวิ่งต้อง เปลี่ยนรองเท้า”

tumdaina-โตอย่างมีคุณภาพ-2

การอบรมสั่งสอน การให้ข้อมูลที่ เป็นเหตุและผล ต่อสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นถือว่า เป็นสิ่งที่จำเป็น ครอบครัวต้องเรียนรู้ และเข้าใจว่า เด็กๆจะเรียนรู้และจดจำ จะซึมซับในการกระทำ ทุกๆอย่างที่ได้พบเจอ ครอบครัวจึงมีหน้าที่ และความรับผิดชอบ จะต้องสละเวลา เพื่อสร้างและปลูกฝัง ทรัพยากรบุคคล ที่จะเป็นอนาคต ของโลกให้มีคุณภาพ มากที่สุด

ละเลิกกับความคิดที่ว่า “ยังเด็กอยู่เลยทำอะไรก็ไม่ผิด” “เด็กยังไม่ประสีประสาอย่าใส่ใจ” อย่านำความคิดและการกระทำ  ที่แสดงถึง การปัดความรับผิดชอบ อย่างชัดเจนแบบนี้ โยนให้กับคนอื่นๆในสังคม ที่อยู่ร่วมกันนั้น เป็นฝ่ายที่ต้องเข้าใจ และทำใจยอมรับ กับพฤติกรรมการแสดงออก ที่มองออกว่า ขาดการเอาใจใส่ และอบรมสั่งสอน อย่างจริงจัง จากคนในครอบครัว

tumdaina-โตอย่างมีคุณภาพ-4

ปัจจัยทางการศึกษา เป็นปัจจัยต่อมา ของเด็กๆเมื่อก้าวเข้าสู่ การแสวงหาการเรียนรู้ ด้วยตนเอง โดยที่ไม่ได้มีครอบครัว ที่อยู่ด้วยตลอดเวลา เพื่อคอยอบรม และสั่งสอนในสิ่ง ที่ได้เจอหรือ ได้พบเห็น ดังนั้นการศึกษาจึงจำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบโจทย์และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องและ มีผลต่อการพัฒนาที่ ก้าวหน้าทางการศึกษา ต้องมีคุณภาพเพื่อสร้าง การพัฒนาและ เจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมีคุณภาพ

  • บุคคลากรที่เป็นผู้สอน บุคคลเหล่านี้สำคัญ นอกจากความรู้ ที่ได้เรียนรู้ และปฏิบัติจนมีความชำนาญ มีความสามารถ ที่จะนำความรู้ที่มีนั้น ส่งต่อต่อคนรุ่นใหม่ หรือเด็กๆที่รอคอย การเรียนรู้ได้แล้วนั้น ทัศนคติที่มีต่อหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อชีวิต และการพัฒนาตลอดเวลา เพื่อเป็นสะพาน ที่เป็นทางเดินให้กับ เด็กๆหรือคนรุ่นใหม่นั้น ได้ใช้ชีวิต และก้าวเดินต่อไปด้วยตัวเองได้ อย่างมั่นคง
  • หลักสูตรการเรียนการสอน ทุกวันนี้โลก เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว วิวัฒนาการ เทคโนโลยีก้าวล้ำ ไม่เคยหยุดนิ่ง ดังนั้นหลักสูตรต่างๆ ที่ใช้สำหรับ การเรียนการสอน จึงจำเป็นจะต้องมีการพัฒนา และปรับปรุงเพื่อให้ ทันสมัยและสอดคล้อง ต่อความต้องการของสังคม เพื่อผู้เรียนสามารถ นำไปปรับใช้ได้ ในชีวิตจริง
  • อุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอน เช่น ห้องเรียน บรรยากาศการเรียนการสอน ห้องปฏิบัติการ ห้องศึกษาค้นคว้า ห้องกิจกรรม เป็นต้น  ตามแผนกการเรียนการสอน ในแต่ละสาขา วิชา สถาบันควรที่จะต้อง มีการจัดเตรียมการ และสรรหาเพื่อนำมา ซึ่งการอำนวยความสะดวก ในการสอนต่อผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเรียนรู้
  • สถาบันการศึกษา องค์ประกอบสำคัญที่มีข้างต้น ทั้งหมดจะไม่เกิดขึ้นได้ ถ้าสถาบันการศึกษานั้นๆ มีการบริหารและ จัดการที่ไม่สมดุลย์ ดังนั้นแนวความคิด ของผู้บริหารที่เป็น เจ้าของสถาบัน การให้ความสำคัญ และความรับผิดชอบ ต่อการจัดการ การศึกษาที่มีคุณภาพ จึงถือว่าเป็นอีกบทบาท ที่สำคัญอีกบทหนึ่งที่ขาดไม่ได้

tumdauna-โตอย่างมีคุณภาพ-3

บทส่งท้าย

ทั้งสองสิ่งนี้ ที่กล่าวถึงถือเป็นปัจจัยพื้นฐานหลัก ที่ควรจะมีการพัฒนา และเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลง และแก้ไขจากจุดที่เป็นพื้นฐาน ทั้งนี้อาจจะมี อีกหลากหลายมุมมอง ที่มองว่าน่าจะมีมากกว่านี้ ที่ควรจะมีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงแต่สำหรับบทความนี้ ขอให้ความสำคัญกับ 2 ปัจจัยหลักนี้ ก่อน

เนื่องจากการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลง ควรที่จะเริ่มตั้งแต่จุดเริ่ม เพื่อเป็นการแก้ไขในแบบถาวร ไม่ใช่การแก้ไขเฉพาะหน้า ฉะนั้นเมื่อมีการเริ่มต้นที่ดี ก็ย่อมจะเป็นแนวทาง ที่จะทำให้วางแผนและการดำเนินชีวิต สำหรับเด็กๆหรือเยาวชนรุ่นใหม่ ได้เติบโตขึ้นมา อย่างมีคุณภาพ และไม่เป็นภาระหรือปัญหาต่อคนอื่นๆในสังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
Chantana.C
Chantana.Chttp://tumdaina.com
Life is about balance. And in this life we need to keep changing and growing to be in balance.

Related Posts

Comments

อ่านจบแล้ว เป็น อย่างไร บ้าง ขอความคิดเห็นหน่อยจ้า

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่


Stay Connected

5,624แฟนคลับชอบ
6,783ผู้ติดตามติดตาม

Recent Stories