กรอบความคิด พลังความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์

กรอบความคิด เป็น พลังของความเชื่อ ที่มีกระบวนการคิดใน การวิเคราะห์ข้อมูล การมองเห็น และการตัดสินใจ ต่อการกระทำที่ จะเกิดขึ้นให้กับบุคคลนั้นๆ ซึ่งโดยส่วนมาก ถ้ามีความเข้าใจ ในกระบวนการของ กรอบความคิดที่มี จะทำให้เกิดแนวคิด หรือวิธีการใน การจัดการกับปัญหา หรือจัดการ กับสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ความคิดเปรียบ เสมือนตัวแปร สำหรับเรื่องราวต่าง มุมมองของ คนแต่ละคนนั้น ย่อมมีความแตกต่าง ความเห็นและ การเข้าใจหรือการยอมรับ ความคิดเห็น ที่มีทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ต่อสถานการณ์ ต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งบางครั้งก็อาจจะ เป็นเรื่องที่ไม่เข้าใจว่า ทำไมบุคคลเหล่านั้น จึงไม่เข้าใจ หรือไม่ยอมที่จะเข้าใจ

มันไม่ใช่สิ่งที่ แปลกที่ในหมู่ คนที่อยู่ด้วยกัน ในคนหมู่มากนั้น จะมีความเห็น ที่แตกต่างกัน หรือแทบจะหาจุด ที่มาบรรจบกันช่าง ดูยากเสียเหลือเกิน มันต้องทำอย่างไร จึงจะทำให้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นได้รับ การแก้ไข หรือสามารถที่ จะหาทางออกที่ ได้รับการยอมรับ ร่วมกันได้อย่างเสรีและสงบสุข

ก่อนอื่นเรา ต้องทำความเข้าใจก่อน อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ คนเรานั้น บางครั้งทัศนะคติ ความคิดเห็นช่าง แตกต่างกันมากเหลือเกิน ซึ่งบางโอกาศด้วย ความเห็นหรือ ความเข้าใจที่แตกต่าง สามารถนำพา ไปสู่การทะเลาะวิวาท หรือเกิดปัญหา ที่หาทางแก้ไขได้ยากขึ้น จากจุดที่เริ่มต้น ในเรื่องที่คนเรานั้น มีความคิดที่ ไม่เหมือนกัน

ประเภทของ กรอบความคิด ที่ควรทำความเข้าใจ

Growth mindset

ประเภทที่ 1 กรอบความคิดเติบโต (Growth mindset)

ลักษณะของคนในกลุ่มคนกรอบความคิดเติบโต  ในประเภทนี้จะมีคุณลักษณะ ที่รู้ตนเองเสมอว่า ตนเองนั้นสามารถเปลี่ยนแปลง และพัฒนาได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องทักษะต่างๆ บุคลิกภาพ หรือความสามารถ ซึ่งการเปลี่ยนรวมถึงการพัฒนา สามารถที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องอาศัยการเรียนรู้ การฝึกฝนที่เต็มไป ด้วยความพยายาม  และความตั้งใจทำ

การให้ความสนใจ ทั้งนี้ในกลุ่มคน ที่อยู่ในกลุ่ม กรอบความคิดเติบโต จึงเป็นกลุ่มคนที่ มีความสนใจ และมักจะเพิ่มแรงจูงใจ ในเรื่องการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเอง อยู่ตลอดเวลา ไม่กลัวในสิ่งที่ท้าทายการใช้ชีวิต เพราะมีความเชื่อที่ว่า การท้าทายเป็น การเปิดโอกาศ ให้ชีวิตของเรานั้นได้เรียนรู้ และเติบโตต่อไป

บุคคลที่อยู่ใน กรอบความคิดเติบโต มักจะสรรหาการพัฒนา การแสวงหา ความรู้ใหม่ๆให้ตัวเอง นั้นได้ศึกษา ค้นคว้าอย่างหนัก เพื่อทำให้ตัวเอง ประสบกับความ สำเร็จให้ได้ ไม่ว่าจะ ต้องพยายามมาก น้อยแค่ไหนก็ตาม และมักที่จะ ไม่สนใจกับมุมมอง ของคนอื่นๆที่จะ มองภาพลักษณ์ ของตัวเองนั้น เป็นอย่างไร แต่จะให้ ความสำคัญกับ กระบวนการและ ขั้นตอนในการเรียนรู้มากกว่า

มุมมองของการดำเนินชีวิต บ่อยครั้งที่การ ทดลองในสิ่งใหม่ๆนัั้น ด้วยความที่ยัง ไม่ชำนาญจึงย่อมเจอ ข้อที่ผิดพลาด แต่คนที่อยู่ใน กลุ่มความคิดเติบโตนี้ เมื่อไหร่ก็ ตามที่พบกับ ความผิดพลาด กลับยิ่งเป็น แรงบันดาลใจที่ทำให้ต้อง เพิ่มการพยายามและพัฒนาแก้ไข ให้ดียิ่งขึ้น เปรียบเหมือน ความผิดพลาด กลายเป็นแรงกระตุ้น ให้เกิดการศึกษาและ ค้นคว้าเพื่อการหา หนทางในการแก้ไข

การปรับตัว กลุ่มความคิดเติบโต เป็นกลุ่มคนที่ ปรับตัวได้ง่ายใน ทุกๆสถานการณ์ เนื่องจากจะมีหลัก และวิธีการมอง โดยใช้ความคิด ที่เปิดกว้าง เนื่องจากการ ปรับตัวง่ายเนื่องจาก มีความใคร่รู้ และใฝ่รู้ที่จะเรียนรู้ ในสิ่งใหม่ๆจึงทำให้ การเปิดใจที่จะยอมรับ และพิสูจน์ตัวเองนั้น ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับ กลุ่มความคิดเติบโต

Fixed mindset

ประเภทที่ 2 กรอบความคิดจำกัด (Fixed mindset)

ลักษณะของคนในกลุ่มคนกรอบความคิดจำกัด กลุ่มคนที่อยู่ในประเภทนี้ จะมีความคิดและ มีความเชื่อว่า คุณลักษณะหรือสิ่งที่เป็นอยู่ ทุกวันนี้นั้น ไม่สามารถที่จะ เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขได้ เพราะมันเป็น สิ่งที่ติดตัวมา ตั้งแต่กำเนิด หรือมีความคิดว่า ศักยภาพที่มีนั้น เป็นการรับการ ถ่ายทอดมาจาก พันธุกรรมจึงเป็น เรื่องที่แก้ไขได้ยาก

การให้ความสนใจ กลุ่มคนที่มี กรอบความคิดจำกัด มักจะมีความเชื่อว่า การที่ต้องใช้ ความพยายามนั้น เป็นการสะท้อน ถึงผู้ที่ด้อยความสามารถ เพราะหากเป็นผู้ ที่มีความสามารถแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้ ความพยายามใน การทำสิ่งต่างๆที่ต้องการ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มีกรอบความคิดจำกัด จึงมักหลีกเลี่ยง ที่จะใช้ความพยายาม ในการจัดการ หรือแก้ไขปัญหาต่าง ๆ

ดังนั้นในเรื่องของ การเรียนรู้เพื่อ เพิ่มเติมในสิ่งใหม่ๆ หรือเพื่อเป็น การพัฒนาตัวเอง จึงไม่มีความจำเป็น และไม่น่าสนใจ ผู้ที่มีกรอบความคิดจำกัด มักหลีกเลี่ยงการแก้ไขปัญหา มักไม่ค่อยมีความสนใจเพื่อเกิดปัญหาแล้วนั้น จะต้องเข้าสู่กระบวนการการหาหนทางแก้ไข เพราะมีความวิตกกังวลว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่

กลัวการถูกตัดสินว่า ไม่มีความสามารถ ที่เพียงพอ หรือไม่มีความรู้ เนื่องจากไม่สามารถ ที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว ให้สำเร็จได้รวมทั้งมีความวิตก กังวลกับการพิสูจน์ว่า ตนเองมีคุณลักษณะ ที่ดีเพียงพอหรือไม่ หรือมีความสามารถมากน้อย เพียงใด ภาพลักลักษณ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ กลุ่มคนที่มีกรอบความคิดจำกัด

มุมมองของการดำเนินชีวิต กลุ่มคนที่มีความคิดจำกัด ไม่ชอบเรื่องการทดสอบ เพราะไม่ชอบที่จะอยู่ในจุดที่ต้องถูกประเมิน ในเรื่องของความสามารถ เพราะดูเหมือนกำลังถูกประเมินความฉลาดและความสามารถที่มี ไม่ชอบที่จะเอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงกับสถานการณ์ ที่ตัวเองนั้นไม่มี ความมั่นใจต่อ เพราะกลัวความผิดพลาด

รวมถึงไม่มีความชอบ ในเวลาที่เกิดปัญหา มักจะแสวงหา กระบวนการและ วิธีการในการแก้ปัญหา ในแบบง่ายๆ  ไม่ชอบเรื่องความซับซ้อนหรือ ต้องมีการใช้ความพยายาม แต่ถ้าสถานกานณ์ นั้นมันไม่ง่าย กลุ่มคนในกลุ่มนี้ จำเป็นต้องมีแรงจูงใจ ที่มากพอสมควรที่ จะทำให้เกิดแรงจูงใจ ที่จะแก้ไขปัญหา เช่นของรางวัลสำหรับความสำเร็จ เป็นต้น

การปรับตัว เนื่องจากมีความกังวลในเรื่องของความสมบูรณ์แบบในด้านความสามามารถ จึงทำให้การปรับตัว ในสถานการณ์ใหม่ๆนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัย หลากหลายปัจจัย ที่เป็นแรงผลัก ให้กลุ่มคนที่มี ความคิดนำกัดนั้น เปิดใจที่จะเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ

บทส่งท้าย

ในคุณลักษณะของบุคคล ในคนคนเดียวกัน อาจจะมีกรอบของความคิด ที่ผสมกันได้ในบางเรื่อง อย่างเช่น บางคนอาจมี กรอบความคิดเติบโต ในเรื่องของการศึกษา และเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ แต่อาจจะมีกรอความคิดจำกัด ในเรื่องของบุคลิกลักษณะ ซึ่งไม่ใช่ที่แปลกประหลาด ที่จะมีแนวความคิดที่เป็น ในแบบผสมผสาน

ในกระบวนการ ของกรอบความคิด ถือว่าเป็นลักษณะ ของความคิดที่มี ลักษณะการแสดงออกที่ชัดเจนว่า การแสดงออกของคนในแต่ละคนนั้น ทำไมถึงมีความแตกต่าง การเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจ ในจุดยืนของแต่ละบุคคล ที่เบื้องลึกแล้วนั้น มันอาจจะไม่ใช่ปัญหาที่ต้องนำมา ให้เป็นสิ่งที่มองว่า แก้ไขไม่ได้

กรอบความคิดในความเชื่อ ที่แต่ละคนนั้นมี มันเป็นตัวตน ที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรม หรือมุมมอง ในการตัดสินใจ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อบุคคลที่มี ความเกี่ยวข้องกันนั้น มีหลากหลาย การเปิดใจที่จะเรียนรู้และ มีความเข้าใจต่อ พื้นฐานของความคิดที่มี จึงน่าสนใจและน่าศึกษาเพื่อ เป็นการหาทางออกที่ทำ ให้เกิดความเข้าใจ และอยู่ร่วมกันในสังคม

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
Chantana.C
Chantana.Chttp://tumdaina.com
Life is about balance. And in this life we need to keep changing and growing to be in balance.

Related Posts

Comments

อ่านจบแล้ว เป็น อย่างไร บ้าง ขอความคิดเห็นหน่อยจ้า

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่


Stay Connected

5,624แฟนคลับชอบ
6,783ผู้ติดตามติดตาม

Recent Stories